What is UML

 
          UML (Unified Modeling Language)มีการพัฒนาขึ้นเมื่อ20ปีก่อนซึ่งมีหลายค่ายได้พัฒนาขึ้น เป็นเครื่องมือใหม่ที่ได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เริ่มประยุกต์ใช้กับระบบงานมากขึ้น เพราะเป็นเครื่องมือที่มีความหลากหลายในการแสดงแบบซอฟต์แวร์ เป็นโมเดลมาตรฐานที่ใช้หลักการออกแบบ OOP (Object Oriented Programming) รูปแบบของภาษามี Notation เป็นสัญลักษณ์สำหรับสื่อความหมาย มีกฎระเบียบที่มีความหมายต่อการเขียนโปรแกรม (Coding) ดังนั้นการใช้ UML จะต้องทราบความหมายของ Notation เช่น generalize, association, dependency, class และ package สิ่งเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการตีความการออกแบบ ก่อนนำไป Implement ระบบงานจริงโดยได้แบ่งออกเป็น 4 วิธีการดังนี้
  -วิธีการของBooch
  -วิธีการ Object-Oriented Software Engineering(OOSE)
  -วิธีการ Object Modeling Technique(OMT)
  -วิธีการของ Coad และ Yourdon
ในปี 1994 ได้มีการรวมวิธีการทั้งสามกลุ่มคือ วิธีการของ Booch วิธีการ OOMT และ OOSE เข้าด้วยกันและจุดนี้เป็นจุดกำเนิดของ UML จนในปี 1997 ได้มีบริษัทยักษ์ใหญ่ในแวดวงอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อย่างเช่น Microsoft, Oracle, IBM และ Compac นำมาใช้พัฒนาในแวดวงอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง
ใน UML 2.0 มีแผนภาพทั้งหมด 13 ประเภท สามารถจัดกลุ่่มได้ดังนี้

1 แผนภาพประเภทโครงสร้าง

   - Class diagram
   - Composite structure diagram
   - Deployment diagram
   - Object diagram
   - Package diagram

2  แผนภาพประเภทพฤติกรรม

  -  Activity diagram
   - State machine diagram
   - Usecase diagram

3 แผนภาพประเภทการโต้ตอบ

   - Communication diagram
   - Interaction diagram( UML2.0)
   - Sequence diagram
   - UML Timing diagram(UML2.0)

  ประโยชน์ของยูเอ็มแอล (UML Advantage) 

1. วงจรการพัฒนาที่สั้นที่สุด (Shortest Development life cycle) 
2. เพิ่มผลผลิต (Increase productivity) 
3. ปรับปรุงคุณภาพซอฟต์แวร์ (Improve software quality) 
4. สนับสนุนระบบสืบทอดมรดก (Support legacy system) 
5. ปรับปรุงการเชื่อมต่อทีมงาน (Improve team connectivity) 

ทำไมต้องยูเอ็มแอล (Why UML?) 

1. UML สามารถแสดงส่วนประกอบในการสร้างโปรเจคในรูปของโอโอพี (OOP) 
2. เชื่อมแนวคิดกับการออกแบบระบบโดยใช้รหัสเชิงวัตถุ (Object Oriented Code) 
3. ง่ายต่อการทำความเข้าใจและสามารถแปลงเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น